เนื่องจากเจ้าของบล๊อก ได้ทำรายงานในรายวิชาต่าง ๆ มากมาย ทั้งสำหรับนักเรียน และนักศึกษา โดยได้รวบ

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

รายงาน เรื่อง อาเซียน : ASEAN Plus อาเซียน+3+6+8 และ ล่าสุด อาเซียน+9

ASEAN Plus หมายถึง กรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา กรอบความร่วมมือเหล่านี้มีหลายด้าน ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง สังคม และเศรษฐกิจ และปัจจุบัน มีการนำคำศัพท์ ASEAN Plus มาใช้ในหลายบริบท ดังนี้ASEAN Plus One (ASEAN+1) หมายถึงกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 1 ประเทศ ตัวอย่างเช่น ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น จัดเป็นเขตการค้าเสรีแบบ ASEAN Plus One ASEAN Plus Three (ASEAN+3) หมายถึงกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2540
ASEAN Plus Six (ASEAN+6) โดยทั่วไปใช้อ้างอิงถึงข้อริเริ่มในกรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS) ซึ่งมีการประชุมครั้งแรกในปี 2548 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อริเริ่มเรื่อง การจัดทำพันธมิตรทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดในเอเชียตะวันออก (Closer Economic Partnership in East Asia: CEPEA) เนื่องจากเวทีการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกในช่วงเริ่มต้นมีประเทศผู้เข้าร่วมรวม 16 ประเทศ คือ อาเซียน 10 ประเทศ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ASEAN Plus Eight (ASEAN+8) ใช้อ้างอิงอย่างไม่เป็นทางการถึงข้อริเริ่มในกรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเช่นกัน เนื่องจากเวทีนี้มีการขยายสมาชิกภาพเมื่อปี 2553 โดยรับรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาเข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มอีก 2 ประเทศ
ASEAN Plus Plus (ASEAN++) หมายถึง การขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในอนาคตที่กว้างขวางไปกว่ากรอบ ASEAN +1 กล่าวคือ ในอนาคต อาเซียนอาจจะจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศคู่เจรจาจำนวนมากกว่าหนึ่งประเทศขึ้นไปขึ้นอยู่กับความพร้อมของประเทศคู่เจรจาแต่ละประเทศเองอาเซียนจึงเรียกแนวทางนี้ว่า ASEAN Plus Plus เพราะไม่ได้ระบุไว้ว่าประเทศคู่เจรจาที่อาจขอเข้าเจรจากับอาเซียนนั้น ในท้ายที่สุดแล้วจะมีจำนวนเท่าใด

อาเซียน+3 คืออะไร
อาเซียน+3 (ASEAN+3) คือ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กับประเทศอื่นนอกกลุ่มอาเซียนอีก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) ในอนาคต
รายละเอียดของอาเซียน+3
กลุ่มอาเซียน+3 (ASEAN+3, ASEAN Plus 3, อาเซียนบวกสาม) จะประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน อันได้แก่ ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ประเทศเวียดนาม ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา และประเทศบรูไน รวมกับประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ โดยทั้ง 13 ประเทศจะมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรของทั้งโลก และจะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 16 ของ GDP รวมทั้งโลก) ในขณะที่ยอดทรัพย์สินที่เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (สูงกว่า 50% ของเงินทุนสำรองของโลก)
เป้าหมายของการจัดตั้งอาเซียน+3
การจัดตั้งกลุ่มอาเซียน+3 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่อีก 3 ประเทศ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) และมีข้อตกลงกันเพื่อความร่วมมือในด้านต่างๆ 5 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการเมืองและความมั่นคง
2. ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน
3. ด้านพลังงาน
4. สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก
5. ด้านสังคมและวัฒนธรรม
เป้าหมายความร่วมมือกันของอาเซียน+3 หรือประชาคมเอเชียตะวันออก
การรวมกันเป็นกลุ่มอาเซียน+3 จะเป็นการนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต ซึ่งชาติสมาชิกทั้งหมดจะร่วมมือและสนับสนุนกันในด้านต่างๆ โดยมีความร่วมมือ 6 ด้านที่จะต้องเร่งผลักดัน ดังนี้
1. การร่วมกันกำหนดกฎระเบียบในภูมิภาค
2. การตั้งเขตการค้าเสรี
3. ข้อตกลงความร่วมมือทางการเงินและการคลัง
4. เขตความร่วมมือและมิตรภาพเพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมอาวุธ
5. การคมนาคมและเครือข่ายการสื่อสาร
6. ด้านสิทธิมนุษยชนและพันธะกรณีต่างๆ
ข้อริเริ่มเชียงใหม่ของกลุ่มอาเซียน+3
ในการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 วาระพิเศษ (Special ASEAN+3 Financial Ministers Meeting) เมื่อปี ค.ศ. 2009 ได้มีการสนับสนุนการใช้เวทีหารือด้านนโยบายและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน เช่น ข้อริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) ซึ่งเป็นแนวความคิดด้านการเงินของภูมิภาค โดยจะมีการจัดตั้งกองทุนการเงินขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นกันชนรองรับเศรษฐกิจที่อาจจะอ่อนแอในอนาคต
ที่ประชุมได้มีข้อสรุปเบื้องต้นว่า จะนำข้อริเริ่มเชียงใหม่มาขยายผลในทางปฏิบัติ โดยจะมีการจัดตั้งกองทุนสำรองระหว่างประเทศร่วมกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จากเป้าหมายเดิม 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4 ล้านล้านบาท โดย 3 ประเทศนอกกลุ่มอาเซียน คือจีน ญี่ปุ่นเและกาหลีใต้ จะลงขันในสัดส่วน 80% ของวงเงินดังกล่าว และประเทศในกลุ่มอาเซียนอีก 10 ประเทศ จะลงขันในส่วนที่เหลืออีก 20% ซึ่งกองทุนนี้จะมีรูปแบบคล้ายกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพียงแต่จะให้ความช่วยเหลือและเป็นหลักประกันให้กับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นหลัก ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือทุกประเทศเหมือนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
อาเซียน+3 นั้น เป็นความร่วมมือที่จะสามารถสร้างประโยชน์และความมั่นคงในภาพรวมให้กับสมาชิกทั้ง 13 ประเทศ อีกทั้งยังสามารถสร้างอำนาจต่อรองในเวทีระหว่างประเทศได้อย่างมหาศาล


อาเซียน +6
                จัดตั้งขึ้นเพื่ออะไร
สำหรับ "อาเซียน +6" ก็คือ การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก 6 ประเทศ คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งหากนับจำนวนประชากรในกลุ่มนี้แล้ว จะพบว่า อาเซียน +6 มีประชากรรวมกันกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลกเลยทีเดียว
หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมอาเซียนต้องรวมกลุ่มกับอีก 6 ประเทศนอกอาเซียนด้วย คำตอบก็คือ การรวมกลุ่มอาเซียน +6 นี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มในการลงทุน การทำการค้า ฯลฯ ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมทำข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี ด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น พร้อมกับผนวกกำลังของแต่ละกลุ่มการค้าเข้าด้วยกัน เพื่อให้กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น
ความเป็นมาของอาเซียน +6
ที่มาของแนวคิด "อาเซียน +6" นี้ เริ่มขึ้นครั้งแรกในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI) และ AEM+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยญี่ปุ่นเสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาควิชาการ (Track II) ของกลุ่มประเทศ East Asia Summit (EAS ประกอบด้วยอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Comprehensive Economic Partnership in East Asia (CEPEA) ซึ่งเป็น FTA ระหว่างประเทศอาเซียน+6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์)
จากนั้น ในการประชุม East Asia Summit ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองเชบู ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ประชุมก็มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาเรื่องดังกล่าว โดยประเทศญี่ปุ่นได้จัดประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA)
ทั้งนี้ กลุ่มนักวิชาการได้ประชุมร่วมกันทั้งหมด 6 ครั้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2550พ.ศ. 2551 ก่อนจะได้ผลสรุปว่า หากมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้เกิดความสะดวกในด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ พลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อได้ข้อสรุปดังนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงมีมติให้ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ในระยะที่ 2 โดยเน้นเรื่องความร่วมมือ (Cooperation), การอำนวยความสะดวก (Facilitation) และการเปิดเสรี (Liberalization)ที่จะช่วยสร้างความสามารถของประเทศสมาชิก เพื่อรองรับการเปิดเสรีภายใต้อาเซียน+6 (CEPEA)
ทั้งนี้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญก็ได้ข้อสรุปว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ควรให้ความสำคัญเรื่องความร่วมมือเป็นอันดับแรก พร้อมกับเน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละประเทศ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer of Technology) และสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งควรพิจารณาจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก เพื่อช่วยรองรับโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น และสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อไป
ประโยชน์ของอาเซียน +6
จากรายงานการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เมื่อปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 พบว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% หรือหากวัดเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะเพิ่มขึ้น 3.83% และเมื่อดูเฉพาะของประเทศไทยแล้วจะพบว่า ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 4.78% เลยทีเดียว ในขณะที่ประเทศ+6 มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้น 2.6%
นอกจากนี้ อาเซียน +6 จะช่วยปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก ดังนี้
1.ขยายอุปสงค์ภายในภูมิภาค (Domestic demand within the region)
2.เพิ่มประสิทธิผลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นความชำนาญในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศ (Product specialization)
3.พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะเรื่อง Logistics ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะนำไปสู่การลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในแต่ละประเทศสมาชิก รวมถึงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่แน่นเฟ้นยิ่งขึ้น



ประเทศคู่เจรจา หรืออาเซียน +8 และ อาเซียน+9


อาเซียน +8 จะส่งผลดีต่อการส่งออก การเกษตร และอุตสาหกรรม สามารถตีตลาดเสรีทั่วโลก ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจการค้าของอาเซียนและไทย
จากอาเซียน +8 ได้แก่
1. จีน
2. ญี่ปุ่น
3. เกาหลีใต้
4. ออสเตรเลีย
5. นิวซีแลนด์
6. อินเดีย
7. รัสเซีย
8. สหรัฐอมริกา
ส่วนอาเซียน +9 ได้แก่
1. จีน
2. ญี่ปุ่น
3. เกาหลีใต้
4. ออสเตรเลีย
5. นิวซีแลนด์
6. อินเดีย
7. รัสเซีย
8. สหรัฐอมริกา
9. แคนาดา
ประเด็นสำคัญในการรวมกลุ่มกันคือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การร่วมมือกันพัฒนาเศรษฐกิจ
และทรัพยากร แค่อาเซียน +6 ก็มีประชากร ประมาณ 50 เปอร์เซ็นของประชากรโลกแล้วคือ ประมาณ 3 พันกว่าล้านคน ถ้าบริการ อาเซียน +9 ดีๆช่วยเหลือกันผลประโยชน์ที่ได้คงมากมายอยู่ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจการค้าของอาเซียนและไทย

ที่มา http://www.uasean.com/kerobow01/624
http://hilight.kapook.com/view/76060
http://www.เกร็ดความรู้.net/อาเซียน3/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณาใช้ภาษาและถ้อยคำสุภาพ