เนื่องจากเจ้าของบล๊อก ได้ทำรายงานในรายวิชาต่าง ๆ มากมาย ทั้งสำหรับนักเรียน และนักศึกษา โดยได้รวบ

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

รายงาน เรื่อง อาเซียน : ASEAN Plus อาเซียน+3+6+8 และ ล่าสุด อาเซียน+9

ASEAN Plus หมายถึง กรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา กรอบความร่วมมือเหล่านี้มีหลายด้าน ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง สังคม และเศรษฐกิจ และปัจจุบัน มีการนำคำศัพท์ ASEAN Plus มาใช้ในหลายบริบท ดังนี้ASEAN Plus One (ASEAN+1) หมายถึงกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 1 ประเทศ ตัวอย่างเช่น ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น จัดเป็นเขตการค้าเสรีแบบ ASEAN Plus One ASEAN Plus Three (ASEAN+3) หมายถึงกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2540
ASEAN Plus Six (ASEAN+6) โดยทั่วไปใช้อ้างอิงถึงข้อริเริ่มในกรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS) ซึ่งมีการประชุมครั้งแรกในปี 2548 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อริเริ่มเรื่อง การจัดทำพันธมิตรทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดในเอเชียตะวันออก (Closer Economic Partnership in East Asia: CEPEA) เนื่องจากเวทีการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกในช่วงเริ่มต้นมีประเทศผู้เข้าร่วมรวม 16 ประเทศ คือ อาเซียน 10 ประเทศ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ASEAN Plus Eight (ASEAN+8) ใช้อ้างอิงอย่างไม่เป็นทางการถึงข้อริเริ่มในกรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเช่นกัน เนื่องจากเวทีนี้มีการขยายสมาชิกภาพเมื่อปี 2553 โดยรับรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาเข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มอีก 2 ประเทศ
ASEAN Plus Plus (ASEAN++) หมายถึง การขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในอนาคตที่กว้างขวางไปกว่ากรอบ ASEAN +1 กล่าวคือ ในอนาคต อาเซียนอาจจะจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศคู่เจรจาจำนวนมากกว่าหนึ่งประเทศขึ้นไปขึ้นอยู่กับความพร้อมของประเทศคู่เจรจาแต่ละประเทศเองอาเซียนจึงเรียกแนวทางนี้ว่า ASEAN Plus Plus เพราะไม่ได้ระบุไว้ว่าประเทศคู่เจรจาที่อาจขอเข้าเจรจากับอาเซียนนั้น ในท้ายที่สุดแล้วจะมีจำนวนเท่าใด

อาเซียน+3 คืออะไร
อาเซียน+3 (ASEAN+3) คือ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กับประเทศอื่นนอกกลุ่มอาเซียนอีก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) ในอนาคต
รายละเอียดของอาเซียน+3
กลุ่มอาเซียน+3 (ASEAN+3, ASEAN Plus 3, อาเซียนบวกสาม) จะประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน อันได้แก่ ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ประเทศเวียดนาม ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา และประเทศบรูไน รวมกับประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ โดยทั้ง 13 ประเทศจะมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรของทั้งโลก และจะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 16 ของ GDP รวมทั้งโลก) ในขณะที่ยอดทรัพย์สินที่เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (สูงกว่า 50% ของเงินทุนสำรองของโลก)
เป้าหมายของการจัดตั้งอาเซียน+3
การจัดตั้งกลุ่มอาเซียน+3 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่อีก 3 ประเทศ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) และมีข้อตกลงกันเพื่อความร่วมมือในด้านต่างๆ 5 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการเมืองและความมั่นคง
2. ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน
3. ด้านพลังงาน
4. สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก
5. ด้านสังคมและวัฒนธรรม
เป้าหมายความร่วมมือกันของอาเซียน+3 หรือประชาคมเอเชียตะวันออก
การรวมกันเป็นกลุ่มอาเซียน+3 จะเป็นการนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต ซึ่งชาติสมาชิกทั้งหมดจะร่วมมือและสนับสนุนกันในด้านต่างๆ โดยมีความร่วมมือ 6 ด้านที่จะต้องเร่งผลักดัน ดังนี้
1. การร่วมกันกำหนดกฎระเบียบในภูมิภาค
2. การตั้งเขตการค้าเสรี
3. ข้อตกลงความร่วมมือทางการเงินและการคลัง
4. เขตความร่วมมือและมิตรภาพเพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมอาวุธ
5. การคมนาคมและเครือข่ายการสื่อสาร
6. ด้านสิทธิมนุษยชนและพันธะกรณีต่างๆ
ข้อริเริ่มเชียงใหม่ของกลุ่มอาเซียน+3
ในการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 วาระพิเศษ (Special ASEAN+3 Financial Ministers Meeting) เมื่อปี ค.ศ. 2009 ได้มีการสนับสนุนการใช้เวทีหารือด้านนโยบายและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน เช่น ข้อริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) ซึ่งเป็นแนวความคิดด้านการเงินของภูมิภาค โดยจะมีการจัดตั้งกองทุนการเงินขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นกันชนรองรับเศรษฐกิจที่อาจจะอ่อนแอในอนาคต
ที่ประชุมได้มีข้อสรุปเบื้องต้นว่า จะนำข้อริเริ่มเชียงใหม่มาขยายผลในทางปฏิบัติ โดยจะมีการจัดตั้งกองทุนสำรองระหว่างประเทศร่วมกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จากเป้าหมายเดิม 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4 ล้านล้านบาท โดย 3 ประเทศนอกกลุ่มอาเซียน คือจีน ญี่ปุ่นเและกาหลีใต้ จะลงขันในสัดส่วน 80% ของวงเงินดังกล่าว และประเทศในกลุ่มอาเซียนอีก 10 ประเทศ จะลงขันในส่วนที่เหลืออีก 20% ซึ่งกองทุนนี้จะมีรูปแบบคล้ายกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพียงแต่จะให้ความช่วยเหลือและเป็นหลักประกันให้กับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นหลัก ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือทุกประเทศเหมือนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
อาเซียน+3 นั้น เป็นความร่วมมือที่จะสามารถสร้างประโยชน์และความมั่นคงในภาพรวมให้กับสมาชิกทั้ง 13 ประเทศ อีกทั้งยังสามารถสร้างอำนาจต่อรองในเวทีระหว่างประเทศได้อย่างมหาศาล


อาเซียน +6
                จัดตั้งขึ้นเพื่ออะไร
สำหรับ "อาเซียน +6" ก็คือ การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก 6 ประเทศ คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งหากนับจำนวนประชากรในกลุ่มนี้แล้ว จะพบว่า อาเซียน +6 มีประชากรรวมกันกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลกเลยทีเดียว
หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมอาเซียนต้องรวมกลุ่มกับอีก 6 ประเทศนอกอาเซียนด้วย คำตอบก็คือ การรวมกลุ่มอาเซียน +6 นี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มในการลงทุน การทำการค้า ฯลฯ ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมทำข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี ด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น พร้อมกับผนวกกำลังของแต่ละกลุ่มการค้าเข้าด้วยกัน เพื่อให้กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น
ความเป็นมาของอาเซียน +6
ที่มาของแนวคิด "อาเซียน +6" นี้ เริ่มขึ้นครั้งแรกในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI) และ AEM+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยญี่ปุ่นเสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาควิชาการ (Track II) ของกลุ่มประเทศ East Asia Summit (EAS ประกอบด้วยอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Comprehensive Economic Partnership in East Asia (CEPEA) ซึ่งเป็น FTA ระหว่างประเทศอาเซียน+6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์)
จากนั้น ในการประชุม East Asia Summit ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองเชบู ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ประชุมก็มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาเรื่องดังกล่าว โดยประเทศญี่ปุ่นได้จัดประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA)
ทั้งนี้ กลุ่มนักวิชาการได้ประชุมร่วมกันทั้งหมด 6 ครั้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2550พ.ศ. 2551 ก่อนจะได้ผลสรุปว่า หากมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้เกิดความสะดวกในด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ พลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อได้ข้อสรุปดังนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงมีมติให้ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ในระยะที่ 2 โดยเน้นเรื่องความร่วมมือ (Cooperation), การอำนวยความสะดวก (Facilitation) และการเปิดเสรี (Liberalization)ที่จะช่วยสร้างความสามารถของประเทศสมาชิก เพื่อรองรับการเปิดเสรีภายใต้อาเซียน+6 (CEPEA)
ทั้งนี้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญก็ได้ข้อสรุปว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ควรให้ความสำคัญเรื่องความร่วมมือเป็นอันดับแรก พร้อมกับเน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละประเทศ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer of Technology) และสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งควรพิจารณาจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก เพื่อช่วยรองรับโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น และสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อไป
ประโยชน์ของอาเซียน +6
จากรายงานการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เมื่อปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 พบว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% หรือหากวัดเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะเพิ่มขึ้น 3.83% และเมื่อดูเฉพาะของประเทศไทยแล้วจะพบว่า ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 4.78% เลยทีเดียว ในขณะที่ประเทศ+6 มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้น 2.6%
นอกจากนี้ อาเซียน +6 จะช่วยปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก ดังนี้
1.ขยายอุปสงค์ภายในภูมิภาค (Domestic demand within the region)
2.เพิ่มประสิทธิผลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นความชำนาญในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศ (Product specialization)
3.พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะเรื่อง Logistics ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะนำไปสู่การลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในแต่ละประเทศสมาชิก รวมถึงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่แน่นเฟ้นยิ่งขึ้น



ประเทศคู่เจรจา หรืออาเซียน +8 และ อาเซียน+9


อาเซียน +8 จะส่งผลดีต่อการส่งออก การเกษตร และอุตสาหกรรม สามารถตีตลาดเสรีทั่วโลก ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจการค้าของอาเซียนและไทย
จากอาเซียน +8 ได้แก่
1. จีน
2. ญี่ปุ่น
3. เกาหลีใต้
4. ออสเตรเลีย
5. นิวซีแลนด์
6. อินเดีย
7. รัสเซีย
8. สหรัฐอมริกา
ส่วนอาเซียน +9 ได้แก่
1. จีน
2. ญี่ปุ่น
3. เกาหลีใต้
4. ออสเตรเลีย
5. นิวซีแลนด์
6. อินเดีย
7. รัสเซีย
8. สหรัฐอมริกา
9. แคนาดา
ประเด็นสำคัญในการรวมกลุ่มกันคือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การร่วมมือกันพัฒนาเศรษฐกิจ
และทรัพยากร แค่อาเซียน +6 ก็มีประชากร ประมาณ 50 เปอร์เซ็นของประชากรโลกแล้วคือ ประมาณ 3 พันกว่าล้านคน ถ้าบริการ อาเซียน +9 ดีๆช่วยเหลือกันผลประโยชน์ที่ได้คงมากมายอยู่ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจการค้าของอาเซียนและไทย

ที่มา http://www.uasean.com/kerobow01/624
http://hilight.kapook.com/view/76060
http://www.เกร็ดความรู้.net/อาเซียน3/

รายงาน วิชางานโรงแรม : คำศัพท์อาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage) พร้อมภาพประกอบ

Foods
อาหาร

Steamed crap
ปูนึ่ง

 Shark-fin soup
หูฉลาม

Crisp-fried fish
ปลาทอด

Fried prawns
กุ้งทอด

Grilled prawns
กุ้งเผา

Sweet and sour fish
ปลาเปรี้ยวหวาน
  
Cellophane noodles barked with crap
วุ้นเส้นอบปู

Spicy fried squid
ปลาหมึกผัดเผ็ด


Snakehead with dressing
ปลาช่อนแปะซะ


Fried chicken with asparagus
ปลากะพงราดพริก



Beverages
เครื่องดื่ม



Coffee
กาแฟ

Beers
เบียร์

White wines
ไวน์ขาว


Rose wines
ไวน์ชมพู


Red wines
ไวน์แดง


Fortified wines
ไวน์หวาน

Liqueurs
ฃเหล้าหวาน


Ciders
เหล้าแอปเปิ้ล


Apple juice
น้ำแอปเปิ้ล


Grape juice

น้ำองุ่น











ประเพณีวัฒนธรรมการละเล่น (ไม่มีภาพประกอบ)

ประเพณีวัฒนธรรมการละเล่น

ความเป็นมาของการละเล่น
การละเล่นเด็กไทย เป็นการละเล่นของเด็กตั้งแต่สมัยโบราณ เกิดจากการช่างคิดช่างจินตนาการและความสร้างสรรค์ การสังเกตสิ่งรอบตัว และการใฝ่เรียนรู้ใฝ่เรียน นำมาผสมผสานเข้ากับความสนุกในแบบฉบับของคนสยามได้อย่างลงตัว จนทำให้เกิดเป็นการละเล่นชนิดต่าง ๆ ขึ้นมา สมัยนี้มักไม่ค่อยได้พบเห็นการละเล่นประเภทเหล่านี้กันบ่อยนัก เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไป ดังนั้น เราจึงควรนำการละเล่นทั้งหมดเท่าที่พอทราบได้ รวบรวมและสรุป นำมาบันทึกเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าอ้างอิง เพื่อให้สิ่งเหล่านี้นั้นไม่ล่วงเลยสูญหายไปตามกาล

การละเล่นของเด็กแบบไทย ๆ มีมาตั้งแต่เมื่อไร
ชนชาติไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไร การละเล่นแบบไทย ๆ ก็น่าจะมีมาแต่เมื่อนั้นแหละ ถ้าจะเค้นให้เห็นกันเป็นลายลักษณ์อักษร ก็คงต้องขุดศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มาอ้างพอเป็นหลักฐานได้ราง ๆ ว่า
             “..ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…”


            ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีการกล่าวถึงการละเล่นของคนสมัยนั้นว่า

             “…เดือนยี่ถึงการพระราชพิธีบุษยาภิเษก เถลิงพระโค กินเลี้ยงเป็นนักขัตฤกษ์ หมู่นางในก็ได้ดูชุดชักว่าวหง่าวฟังสำเนียง เสียงว่าว ร้องเสนาะลั่นฟ้าไปทั้งทิวาราตรี…”


               ในสมัยอยุธยา บทละครกรุงเก่าได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่างที่คุณคงจะคุ้นเคยดีเมื่อสมัยยังเด็ก คือลิงชิงหลักและปลาลงอวน ในบทที่ว่า


            “เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา ว่าเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นกระไรดี เล่นให้สบายคลายทุกข์ เล่นให้สนุกในวันนี้ จะเล่นให้ขันกันสักทีเล่นให้สนุกกันจริงจริง มาเราจะวิ่งลิงชิงเสา ช้างโน้นนะเจ้าเป็นแดนพี่ ช้างนี้เป็นแดนเจ้านี้ เล่นลิงชิงเสาเหมือนกัน ถ้าใครวิ่งเร็วไปข้างหน้า ถ้าใครวิ่งช้าอยู่ข้างหลัง เอาบัวเป็นเสาเข้าชิงกัน ขยิกไล่ผายผันกันไปมา

เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา บอกเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นปลาลงอวน บัวผุดสุดท้องน้องเป็นปลา ลอยล่องท่องมาเจ้าหน้านวลจะขึงมือกันไว้เป็นสายอวน ดักท่าหน้านวลเจ้าล่องมา ออกหน้าที่ใครจับตัวได้ คุมตัวเอาไว้ว่าได้ปลา

ในเรื่อง อิเหนา วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏการละเล่นหลายอย่าง เช่น ตะกร้อ จ้องเต ขี่ม้าส่งเมือง ดังว่า
“…บ้างตั้งวงเตะตะกร้อเล่น

เพลาเย็นแดดร่มลมสงัด
ปะเตะโต้คู่กันเป็นสันทัด
บ้างถนัดเข้าเตะเป็นน่าดู
ที่หนุ่มหนุ่มคะนองเล่นจ้องเต
สรวลเสเฮฮาขึ้นขี่คู่
บ้างรำอย่างชวามลายู
เป็นเหล่าเหล่าเล่นอยู่บนคิรี


               หรือในขุนช้างขุนแผนกก็กล่าวถึงการละเล่นไม้หึ่งไว้ว่า


“…เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง
กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีมี
แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมี
ว่าแล้วซิอย่าให้ลงในดิน


ประเภทของการละเล่น  

เนื่องจากการละเล่นของไทยเรานั้นมีมากมายจนนึกไม่ถึง (กรมพลศึกษารวบรวมไว้ได้ถึง 1,200 ชนิด) แต่พอจะแบ่งคร่าว ๆได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ การละเล่นกลางแจ้ง และการละเล่นในร่ม และในแต่ละประเภทก็ยังแบ่งย่อยอีกเป็นการละเล่นที่มีบทร้องประกอบ กับที่ไม่มีบทร้องประกอบ                    
-การละเล่นกลางแจ้งที่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ โพงพาง เสือไล่หมู่ อ้ายเข้อ้ายโขง ซ่อนหาหรือโป้งแปะ เอาเถิด มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร ที่มีคำโต้ตอบ เช่น งูกันหาง แม่นาคพระโขนง มะล็อกก๊อกแก็ก เขย่งเก็งกอย ที่ไม่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ล้อต๊อก หยอดหลุม บ้อหุ้น ลูกดิ่ง ลูกข่าง ลูกหิน เตยหรือตาล่อง ข้าวหลามตัด วัวกระทิง ลูกช่วง ห่วงยาง เสือข้ามห้วยเคี่ยว เสือข้ามห้วยหมู่ ตี่จับ แตะหุ่น ตาเขย่ง ยิงหนังสะติ๊ก ปลาหมอ ตกกะทะ ตีลูกล้อ การเล่นว่าว กระโดดเชือกเดี่ยว กระโดดเชือกคู่ กระโดดเชือกหมู่ ร่อนรูป หลุมเมือง ทอดกะทะ หรือหมุนนาฬิกา ขี่ม้าส่งเมือง กาฟักไข่ ตีโป่ง ชักคะเย่อ โปลิศจับขโมย สะบ้า เสือกันวัว ขี่ม้าก้านกล้วย กระดานกระดก วิ่งสามขา วิ่งสวมกระสอบ วิ่งทน ยิงเป็นก้านกล้วย

-การละเล่นในร่มที่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ขี้ตู่กลางนา ซักส้าว โยกเยก แมงมุม จับปูดำขยำปูนา จีจ่อเจี๊ยบ เด็กเอ๋ยพาย จ้ำจี้      

-การละเล่นไม่บทร้องประกอบ ได้แก่ ดีดเม็ดมะขามลงหลุม อีขีดอีเขียน อีตัก เสือตกถัง เสือกันวัว หมากกินอิ่ม สีซอ หมากเก็บ หมากตะเกียบ ปั่นแปะ หัวก้อย กำทาย ทายใบสน ตีไก่ เป่ากบ ตีตบแผละ กัดปลา นาฬิกาทางมะพร้าว กงจักร ต่อบ้าน พับกระดาษฝนรูป จูงนางเจ้าห้อง การเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่เช่นเล่นเป็นพ่อเป็นแม่ เล่นแต่งงาน เล่นหม้อข้าวหม้อแกง แคะขนมครกเล่นขายของ เล่นเข้าทรง ทายคำปริศนา นอกจากนั้นยังมีทบร้องเล่น เช่น จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกงแกง....และบทล้อเลียน เช่น ผมจุก คลุกน้ำปลา เห็นขี้หมานั่งไหว้กระจ๊องหง่อง เป็นต้น การละเล่นที่เล่นกลางแจ้งหรือในร่มก็ได้ที่ไม่มีบทร้อง ได้แก่ ลิงชิงหลัก ขายแตงโม เก้าอี้ดนตรี แข่งเรือคน ดมดอกไม้ปิดตาตีหม้อ ปิดตาต่อหาง โฮกปี๊บ เป่ายิงฉุบ 

ความสำคัญของการละเล่น

การละเล่นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ทุกชาติทุกภาษาไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด การละเล่น ทำให้มนุษย์ได้ผ่อนคลายความตึงเครียดจากงาน ในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้นยังเป็นการเสริม สร้างกำลังกายให้แข็งแรง ลับสมองให้มีสติปัญญา แหลมคม มีจิตใจเบิกบานสนุกสนานร่าเริง ทั้ง ยังทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีขึ้นในหมู่มวล มนุษย์

การละเล่นมีมาแต่สมัยใดไม่มีใครกำหนด แน่นอนได้ เพียงแต่สันนิษฐานกันตามประวัติ- ศาสตร์เท่านั้น การละเล่นของไทยการละเล่นของไทยเท่าที่ปรากฏเป็นหลัก ฐานก็ว่ามีมาแต่กรุงสุโขทัย แต่ที่ปรากฏในบทละครเรื่องมโนห์ราครั้งกรุงศรีอยุธยาคือ การเล่นว่าว ลิงชิงเสา ปลาลงอวน บทละครเรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าแต่งก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การละเล่นของไทยแต่เดิมมาและบางอย่างยังคงปรากฏอยู่จนทุกวันนี้        
หากมีการสืบทอดวิธีเล่นบางอย่างที่ดีงามนำมาปรับให้เข้ากับยุคสมัยก็จะเป็นประโยชน์แก่สังคมไทย ไม่เฉพาะแต่การพัฒนาบุคคลเท่านั้น ยังช่วยพัฒนาสังคมอีกด้วย การละเล่นต่างๆ ย่อมจะแตกต่างกันไปตาม วัยของบุคคลและตามสภาพท้องถิ่น การละเล่นของ ไทยก็เช่นเดียวกัน แต่การละเล่นบางอย่างไม่ สามารถจะชี้ขาดลงไปได้ว่าเป็นการละเล่นของ เด็กหรือของผู้ใหญ่ เช่น การเล่นว่าว การเล่น ช่วงชัย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากวิธีการเล่น ต่างๆ จะเห็นได้ว่าการละเล่นของไทยมีคุณค่า ในทางเสริมสร้างพลานามัย ประเทืองปัญญา ช่วยให้อารมณ์แจ่มใส ฝึกจิตใจให้งดงาม มีความสามัคคี และช่วยสร้างคนดีให้สังคม การละเล่นในชีวิตประจำวัน การละเล่นของเด็ก การเล่นเป็นชีวิตจิตใจของเด็ก ไม่มีเด็ก คนไหนที่ไม่ชอบเล่น ไม่ว่าจะเล่นคนเดียวหรือ เล่นกับเพื่อนๆ การเล่นและเด็กจึงมีความสัมพันธ์ กันอย่างแน่นแฟ้น เด็กที่ไม่รู้จักเล่นหรือไม่

ในแต่ละท้องถิ่น เด็ก ๆ จะประดิษฐ์อุปกรณ์ประกอบการละเล่นโดยนำวัสดุที่มีตามธรรมชาติหาได้ใกล้ตัวมาใช้ เช่น

การละเล่นของเด็กภาคกลาง

การเล่นที่เกี่ยวเนื่องกับการทำนา การเล่นในเทศกาลงานบุญ ตรุษ สงกรานต์ และการเล่นในฤดูน้ำหลาก มักเรียกการละเล่นพื้นเมืองนี้ว่าเป้น การเล่นเพลง การเล่นเพลงที่เกี่ยวเนื่องจากการทำนาก็เป็นการเล่นตามขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงนา เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงรำเคียว เพลงชักกระดาน เพลงพาดควาย เมื่อหมดฤดูทำนาก้มักจะเล่นเพลงปฏิพากย์ ได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงปรบไก่ เพลงชาวไร่ หรือระบำชาวไร่ เพลงพวงมาลัย เพลงอีแซว เพลงลำตัด เพลงเหย่อย เพลงเทพทอง เพลงไก่ป่า และยังมีอีกมากแต่ปัจจุบันได้ล้าสมัยและสูญหายไปเป็นส่วนใหญ่

การละเล่นของเด็กภาคเหนือ

        จะนำมะม่วงขนาดเล็กที่กินไม่ได้มาร้อยเชือกแล้วใส่เดือย นำมาใช้ตีกันเรียกว่าเล่นไก่มะม่วงหรือนำเอาไม้เล็ก ๆ มาเล่นกับลูกมะเขือ หรือมะนาวเรียกว่า หมากเก็บไม้หรือไม้แก้งขี้
        เล่นเก็บดอกงิ้ว ซึ่งคนเล่นจะรอให้ดอกงิ้วหล่นใครเห็นก่อนก็ร้อง "อิ๊บ" มีสิทธิ์ได้ดอกงิ้วดอกนั้นไปร้อยใส่เถาวัลย์ ใครได้มากที่สุดก็ชนะ เล่นบ่าขี้เบ้าทรายก็ใช้ทรายปนดินที่นำมาปั้นเป็นก้อนกลม ๆ มากลิ้งในร่องซึ่งขุดกันริมตลิ่งแม่น้ำนั่นเอง ของเล่นที่ทำกันก็เช่น กล้องกบ ใช้ลำไม้ไผ่มีรูกลวงเล็ก ๆ และไม้แกนซึ่งเหลาพอดีกับรูไม้ เอาใบหญ้าขัด (ขัดมอน) นั้นเป็นก้อนยัดลงไปในรูกระบอก เอาแกนแยงจนสุดลำแล้วใส่ก้อนหญ้าอีกก้อน เอาแกนแยงเข้าไปอีกหญ้าก้อนแรกก็จะหลุดออกพร้อมกับเสียงดังโพละก้อนหญ้านี้อาจใช้ลูกหนามคัดเค้า หรือมะกรูดลูกเล็กแทนได้
        ลูกโป่งยางละหุ่ง ใช้ยางที่กรีดจากต้นละหุ่งหรือจากการเด็ดใบ หาอะไรรองน้ำยางไว้ แล้วเอาดอกหญ้าขดเป็นวงจุ่มน้ำยางให้ติดขึ้นมา ค่อย ๆ เป่าตรงกลางบ่วงดอกหญ้า ยางละหุ่งจะยืดและหลุดเป็นลูกโป่งสีรุ้งแวววาวลอยไปได้ไกลๆ แล้วไม่แตกง่ายด้วย

การละเล่นของเด็กภาคอีสาน

เล่นข้าวเหนียวติดมือ โดยเอาข้าวเหนียวมาปั้นจนได้ก้อนเท่าหัวแม่มือ แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย ให้ฝ่ายเริ่มเล่นส่งข้าวเหนียวต่อ ๆ กันโดยใช้มือประกบจนครบทุกคนแล้วให้อีกฝ่ายทายว่าข้าวเหนียวอยู่ในมือใคร
        ดึงครกดึงสาก เอาเชือกมาพันครกตำข้าว ปลายเชือก 2 ข้างผู้ไว้กลางด้ามสาก แต่ละข้างมีผู้ถือสาก 4 คน แล้วออกแรงดึงพร้อม ๆ กัน ฝ่ายใดร่นมาติดครกถือว่าแพ้
        แมวย่องเหยาะ ใช้ก้านมะพร้าวหรือก้านตาลเหลาให้เป็นเส้นเล็กๆเอามาหักแล้วต่อเป็นรูปแมวย่องเหยาะแล้วให้ผู้เล่นฝ่ายแรกเริ่มเล่นโดยใช้มือจับส่วนใดส่วนหนึ่งของแมว โดยไม่ให้อีกฝ่ายเห็น แล้วให้อีกฝ่ายทายว่าจับตรงไหน ก่อนทายจะมีคนบอกใบ้ให้ เช่น ถ้าจับตรงหัวก็แกล้งเอามือเกาหัว ถ้าทายผิด 3 ครั้ง ก็แพ้ไป
        เล่นหมากพลู นำหมาก ปูน แก่นคูน ยาเส้น มาตั้งข้างหน้าผู้เล่นเป็นกอง ๆ ให้ผู้เล่นคนแรกส่ายมือเหนือสิ่งของที่กองไว้เร็ว ๆ อีกฝ่ายหนึ่งบอกชื่อสิ่งของ 10 อย่าง คนส่ายมือก็ตะครุบของสิ่งนั้นทันทีตะครุบผิด ก็ถูกทำโทษโดนเขกเข่า

การละเล่นของเด็กภาคใต้

        ทางภาคใต้ของธรรมชาติที่เด็กนำมาเล่นกันมากคือมะพร้าวลูกยาง (พารา) และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ซึ่งหาง่ายมีทุกจังหวัด ของเล่นจากมะพร้าว ได้แก่ ชนควายพร็อกพร้าว อุปกรณ์การเล่นคือควาย พร็อกพร้าว โดยใช้เปลือกมะพร้าวทำลำตัว กะลามะพร้าวทำเขา และเม็ดมะกล่ำดำทำตา ทำเสร็จแล้วจะได้รูปแบบนี้คนเล่นจะทำควายพร็อกพร้าวมาคนละตัว แล้วมางัดกัน โดยใช้มือจับลำตัวควายหันหน้าคว่ำลงให้เขาทาบกับพื้น งัดไปงัดมา ของใครหักคนนั้นก็แพ้
        ถีบลูกพร้าว ใช้มะพร้าวแก่จัดไม่ปอกเปลือก 1 ผล ผู้เล่นแบ่งเป็นสองกลุ่ม จับไม้สั้นไม้ยาวหรือใช้วิธี "ชันชี" เพื่อหากลุ่มผู้ถีบผลมะพร้าวกลุ่มแรก เมื่อเริ่มเล่นให้ทั้งสองกลุ่มยืนเป็นวงกลมหันหน้าเข้าหากันโดยยืนสลับกัน นำผลมะพร้าววางกลางวงวางกันมะพร้าวลงดิน จากนั้นผู้เล่นทั้งหมดจับมือกันให้แน่น ถ้าคนเล่นมี 6 คน 3 คนจะถีบยับผลมะพร้าว อีก 3 คนเป็นหลัก ถ้าฝ่ายถีบมีใครล้มก้นแตะพื้นก็แพ้ ให้ฝ่ายเป็นหลักมาถีบแทน
        ร่อนใบพร้าว นำใบมะพร้าวที่ยังติดก้านมาตัดให้ด้านที่มีก้านโตเสมอกัน ใช้มือฉีกใบมะพร้าวออกให้มีขนาดเท่ากัน วิธีเล่นคือจับใบมะพร้าวชูขึ้นเหนือไหล่ จับส่วนที่เป็นใบซึ่งฉีกออกแล้วขว้างไปสุดแรง ใบมะพร้าวก็จะหลุดออกจากก้าน ใครขว้างได้ไกลที่สุดก็เป็นผู้ชนะ
        ของเล่นจากลูกยาง ชักลูกยาง นำลูกยาง (พารา) มาเจาะเอาเนื้อออกหมด เจาะรูด้านบนด้านล่างและด้านข้าง ใช้ไม้ไผ่เหลาแล้วผูกติดกับเชือกด้ายสอดไม้ไผ่เข้าไปในเมล็ดยางทางรูด้านบนหรือด้านล่าง ดึงเชือกด้ายออกมาทางรูด้านข้าง ติดไม้ไผ่แบน ๆ ทางด้านบน 1 ชิ้น เมื่อจะเล่นหมุนแกนให้เชือกด้ายม้วนเข้าไปอยู่ในลูกยางจนเกือบสุด ดึงปลายเชือกแรง ๆแล้วปล่อย แกนไม้ไผ่ก็จะหมุนไปหมุนมาตามแรงดึง ผู้เล่นต้องดึงและปล่อยกลับอยู่เรื่อย ๆ จะทำให้แกนและไม้ไผ่แบน ๆ ด้านบนกระทบกันของใครไม้ไผ่หลุด คนนั้นก็แพ้

 

การละเล่นไทยทั้ง 4 ภาค

 

งูกินหาง

        จำนวนผู้เล่น 8-10 คน
        วิธีการเล่น
        แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายที่1จะต้องเป็น"พ่องู" ฝ่ายที่2มี"แม่งู" 1 คนที่เหลือเป็น"ลูกงู" ซึ่งผู้เล่นเป็นลูกงูจะต้องเกาะเอวผู้เป็นแม่งู จากนั้นพ่องูจะถามว่า "แม่งูเอ๋ย" แม่งูและลูกงูก็ร้องตอบว่า"เอ๋ย" พอช่วงท้ายพ่องูถามว่า "กินหัว กินหาง" แม่งูตอบว่า "กินกลางตลอดตัว" ผู้เป็นพ่องูจะไล่จับลูกงูจากปลายแถว ฝ่ายแม่งูจะต้องกางมือเพื่อป้องกันลูกงูหากลูกงูตัวใดถูกพ่องูดึงจนหลุดออกจากแถวไป ก็ต้องออกจากการเล่นผู้เล่นที่เหลือก็เริ่มเล่นกันอีกจนกว่าลูกงูจะถูกจับหมด


มอญซ่อนผ้า

        จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
        วิธีการเล่น
        มีผ้า 1 ผืน เป็นอุปกรณ์การเล่น จับไม้สั้นไม้ยาว เลือกคนที่เป็นมอญ คนอื่นๆ นั่งล้อมวง คนที่เป็นมอญถือผ้าไว้ในมือ เดินวนอยู่นอกวง คนที่นั่งล้อมวงอยู่จะร้องเพลง ระหว่างนั้นคนที่เป็นมอญจะทิ้งผ้าไว้หลังใครก็ได้ แต่ต้องพรางไว้เป็นว่ายังถือผ้าอยู่ เมื่อเดินกลับมา ผ้ายังที่อยู่เดิม ก็หยิบผ้าไล่ตีผู้อื่น ผู้เล่นนั้นต้องวิ่งหนีไปรอบๆ วง แล้วจึงนั่งได้ ผู้เป็นมอญจะเดินวนต่อไปหาทางวางผ้าให้ผู้อื่นใหม่ ถ้าใครรู้สึกตัวคลำพบผ้าจะวิ่งไล่ตีมอญไปรอบวง 1 รอบ มอญต้องรีบวิ่งหนีมานั่งแทนที่ คนไล่ก็ต้องเป็นมอญแทน
        บทร้องประกอบ "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ"

ขี่ม้าก้านกล้วย

        จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
        วิธีการเล่น
        ผู้เล่นนำก้านกล้วยมาตัดเป็นรูปม้า ตอนโคนเป็นหัว ตอนปลายเป็นหาง ใช้สายจากก้านกล้วยโยงเป็นบังเหียน นำขึ้นขี่เล่น แล้ววิ่งไปรอบๆ ทำท่าเหมือนขี่ม้า ทุกคนจะแข่งกันว่าใครจะวิ่งได้เร็วกว่ากัน

 รีรีข้าวสาร

        จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน
        วิธีการเล่น
        จับไม้สั้นไม้ยาวให้ผู้เล่น2คนยืนเอามือประสานกันเหนือศีรษะเป็นประตูโค้ง คนอื่นๆ เกาะไหล่กันลอดใต้โค้งไปเรื่อยๆ สองคนที่เป็นประตูจะร้องเพลงประกอบเวลาแถวลอดใต้โค้งหัวแถวจะต้องเดินอ้อมหลังคนที่เป็นประตูครั้งละหน เมื่อจบเพลงสองคนที่เป็นประตูจะกระดุกแขนลงกั้นคนสุดท้ายให้อยู่ระหว่างกลางคัดออกไป คนข้างหลังต้องระวังตัวให้ดี มิฉะนั้นตนเองต้องออกจากการเล่น ต้องผ่านให้ได้หมดทุกคนจึงจะจบเกม
        บทร้องประกอบ "รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้ให้ดี"

  เดินกะลา

        จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน
        วิธีการเล่น
        เอาเชือกเส้นหนึ่งยาวประมาณ 1 วา ร้อยกะลามะพร้าว 2 อัน แล้วผู้เล่นขึ้นไปยืนบนกะลามะพร้าว โดยใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้หนีบเส้นเชือกเอาไว้ทั้ง 2 เท้า (เหมือนกับหนีบรองเท้าฟองน้ำ) เมื่อเริ่มเล่น ทุกคนยืนอยู่ที่เส้น พอได้ยินเสียงสัญญาณให้รีบเดินไปที่เส้นชัย ใครถึงก่อนถือว่าชนะ

หมากเก็บ

        จำนวนผู้เล่น 2 - 4 คน
        วิธีการเล่น
        ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อน เสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน โดยวิธีขึ้นร้าน คือ ถือหมากทั้งห้าเม็ดไว้แล้วโยนพลิกหงายหลังมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับอีกที ใครเหลือหินอยู่ในหินอยู่ในมือมากที่สุดคนนั้นเล่นก่อน มีทั้งหมด 5 หมาก
                      หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน เลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างที่สุด โยนเม็ดนำขึ้นแล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" ขณะที่หยิบเม็ดที่ทอดนั้น ถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นถือว่า ตาย
                      หมากที่ 2 เก็บทีละ 2 เม็ด
                      หมากที่ 3 เก็บทีละ 3 เม็ด
                      หมากที่ 4 ใช้โปะ ไม่ทอด คือ ถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้น 

       แล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้"ขี้นร้าน" ได้กี่เม็ดเป็นแต้มของคนนั้น ถ้าขึ้นร้านเม็ดหล่นหมด ใช้หลังมือรับไม่ได้ ถือว่า "ตาย" ไม่ได้แต้ม คนอื่นเล่นต่อไป ถ้าใครตายหมากไหนก็เริ่มต้นหมากนั้น ส่วนมากกำหนดแต้ม 50-100 แต้ม เมื่อแต้มใกล้จะครบ เวลาขึ้นร้านต้องคอยระวังไม่ให้เกินแต้มที่กำหนด ถ้าเกินไปเท่าไร หมายถึงว่าต้องเริ่มต้นใหม่โดยได้แต้มที่เกินไปนั้น วิธีเล่นหมากเก็บนี้มีพลิกแพลงหลายอย่าง เช่น โยนลูกนำขึ้นเก็บทีละเม็ด เมื่อเก็บได้เม็ดหนึ่งก็โยนขึ้นพร้อมกับลูกนำ 2 - 3 - 4 เม็ด ตามลำดับ หมาก 2 - 3 -4 ก็เล่นเหมือนกัน โยนขึ้นทั้งหมด เรียกว่า "หมากพวง" ถ้าโยนลูกนำขึ้นเล่นหมาก 1- 2 -3 -4 แต่พลิกข้างมือขึ้นรับลูกนำให้เข้าในมือระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ โดยทำเป็นรูปวงกลมเตรียมไว้เรียก "หมากจุ๊บ" ถ้าใช้มือซ้ายป้อง และเขี่ยหมากให้เข้าในมือนั้นทีละลูกในหมาก 1 -2 -3 และ 4 ตามลำดับ เรียกว่า "อีกาเข้ารัง" ถ้าเขี่ยไม่เข้าจะตาย ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือยันพื้น นิ้วอื่นปล่อยทำเป็นรูปซุ้มประตู เขี่ยหมากออกเรียกว่า "อีกาออกรัง" ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือ ขดเป็นวงกลม นิ้วชี้ชั้ตรงนิ้ว นอกนั้นยันพื้นเป็นรูปรูปู เรียกว่า "รูปู" เมื่อจบเกมการเล่นแล้วจะมีการกำทาย ผู้ชนะจะทายผู้แพ้ ว่ามีกี่เม็ด ถ้าทายผิดจะต้องถูกเขกเข่า กี่ทีตามที่ตนเองทายจนเหลือเม็ดสุดท้าย คนทายจะถือเม็ดไว้ในมือ แล้ววนพร้อมกับร้องเพลงประกอบ เมื่อร้องจบเอามือหนึ่งกำไว้ งอข้อศอกขึ้นต้องบนมือที่กำอีกข้างหนึ่ง
        บทร้องประกอบ         "ตะลึงตึงตัง ข้างล่างห้า ข้างบนสิบ"

 เป่ากบ

        จำนวนผู้เล่น 2 คน ขึ้นไป
        วิธีการเล่น
        ผู้เล่นจะมียางวงกลมคนเส้น ซึ่งก่อนจะเริ่ม ผู้เล่นจะต้องเป่ายิ่งฉุบกันผู้ชนะจะได้เป่ากบก่อน ผลัดกันเป่าคนละครั้ง ฝ่ายใดสามารถเป่ายางวงของตนให้กระโดไปทับบนยางวงของฝ่ายตรงข้ามได้ก่อนจะถือเป็นผู้ชนะ และจะได้รับยางวงเส้นนั้นๆ ไป

ซ่อนหา

        จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน
        วิธีการเล่น
        จับไม้สั้นไม้ยาว เพื่อหาว่าใครจะเป็นคนหาก่อน เมื่อได้แล้วก็ปิดตา คนอื่นๆ ไปซ่อน คนปิดตาถาม "เอาหรือยัง" ถ้าผู้ซ่อนคนใด หรือหลายคนร้องว่า "ยัง" ก็ยังเปิดตาไม่ได้ รอจนกว่าผู้ซ่อนจะร้องว่า "เอาละ" จึงเปิดตาได้และค้นหาผู้ซ่อน เมื่อหาพบต้องส่งเสียงดังๆ เพื่อให้รู้ว่าพบใครคนหนึ่งแล้ว ผู้ซ่อนทั้งหลายก็ออกมาจากที่ซ่อน ถ้าเล่นโป้งแปะ จะต้องร้องว่า "โป้ง….(ชื่อผู้ที่พบ)" ถ้าผู้ซ่อนถึงตัวผู้หา และร้องว่า "แปะ" ก่อน ผู้นั้นต้องเป็นต่อไป ผู้เล่นจะต้องซ่อนคนเดียว ที่เดียวกันจะซ่อนมากกว่า 1 คนไม่ได้

  อีตัก

        จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
        วิธีการเล่น
        ผู้เล่นทุกคนโปรยเม็ดมะขามเท่าๆ กัน ห่อใบไม้เป็นรูปช้อนสำหรับตัก ในการตักจะต้องตักทีละเม็ดหากกระเทือนเม็ดอื่นจะหมดสิทธิ์ในการเล่น จะต้องให้ผู้เล่นคนอื่นเล่นต่อ หากใครได้มากที่สุดจะถือเป็นฝ่ายชนะ

 จ้ำจี้

        จำนวนผู้เล่น 3-4 คน
        วิธีการเล่น
        ผู้เล่นจะวางมือบนพื้น แล้วเด็กคนแรกเป็นคนชี้นิ้วไล่ไปเรื่อยๆ พร้อมกับร้องเพลง "จ้ำจี้มะเขือเปราะ" เมื่อร้องจบแล้วนิ้วชี้ไปตกที่นิ้วของใครคนนั้นจะต้องหดนิ้วไว้ในอุ้งมือจากนั้นก็เริ่มร้องเพลงต่อไปเรื่อยๆสุดท้ายนิ้วของใครขาดหายไปมากที่สุดจะถือว่าเป็นผู้แพ้

ลูกข่าง

        จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
        วิธีการเล่น
        ใช้เชือกพันรอบๆ ลูกข่าง ขว้างลงพื้นให้หมุนเมื่อลูกข่างล้ม ผู้เล่นคนต่อไปก็ขว้างตามผลัดกันขว้างไปเรื่อยๆ ให้ครบจำนวนผู้เล่น




http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/การละเล่นเด็กไทย